24 ม.ค. 2556

เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)


เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)

            เซลล์ที่ประกอบเป็นเนื้อเยื่อพวกนี้จะเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างเฉพาะ
โดยปกติไม่สามารถแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนได้
ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร
1.เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissue)
2.เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue)
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissue)
         เป็นเนื้อเยื่อที่เกิดจากเซลล์ถาวรชนิดเดียวกันมาอยู่ร่วมกันและทำหน้าที่ร่วมกันมีหลายชนิf ได้แก่ เอพิเดอร์มิส(Epidermis) พาเรงคิมา(Parenchyma) คอลเลงคิมา(Collenchyma)
สเกลอเรงคิมา (Sclerenchyma) เอนโดเดอร์มิส(Endodermis)และ คอร์ก (Cork)
เอพิเดอร์มิส (Epidermis)
เป็นเนื้อเยื่อที่เกิดจากเซลล์เอพิเดอร์มิสหลายเซลล์มาอยู่รวมกัน
ลักษณะ
         1. เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบนอกสุด ของพืชที่เจริญในขั้นต้น (primary growth)
         2. เซลล์เรียงแถวเดียวเบียดกันแน่นไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์
         3. ผนังเซลล์บางด้านนอกมักหนากว่าด้านในเพราะมีสารคิวติน(Cutin)มาเคลือบ จนบางที่เห็นเป็นอีกชั้นหนึ่ง เรียกชั้นที่เกิดจากการสะสมของสารคิวตินนี้ว่าชั้นคิวติเคิล(Cuticle)
** ลักษณะของสารคิวติน เป็นสารประเภทแว็ก มาเคลือบช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ
         4. เอพิเดอร์มิสบางเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ เช่น
               - เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์คุม (Guard cell)
               - เปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก (Root hair)
               - เปลียนแปลงไปเป็นเซลล์ขน (Trichome)
          5.เอพิเดอร์มิสปกติจะไม่มีคลอโรพลาสต์ยกเว้นในเอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์คุมจะพบ คลอโรพลาสต์กระจายอยู่ทั่วเซลล์
          6. เซลล์ที่โตเต็มที่เซลล์ยังมีชีวิต แต่เซลล์จะแตกสลายไปเมื่อพืชมีการเจริญเติบโตขั้นที่ 2
บริเวณที่พบ : เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด พบทุกส่วนของลำต้น กิ่ง ราก ของพืชที่มีการเจริญเติบโตในขั้นต้น (primary growth) นอกจากนี้ยังพบที่ชั้นนอกของกลีบดอก ใบ และผลอ่อน
หน้าที่ :
      - ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ภายใน และเสริมความแข็งแรง
      - ช่วยป้องกันการระเหยและการคายน้ำเพราะถ้าพืชเสียน้ำไปมากจะเหี่ยวและป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าไปข้างในด้วย          เพราะถ้าได้รับน้ำมากเกินไปจะเน่า)
      - ช่วยดูดซึมน้ำและ
      - แร่ธาตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางขนราก

        
รูปที่ 1 ภาพเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสบริเวณรากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ภาพที่ 2 เอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นขนราก (Root hair)

ภาพที่3 เอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนมาเป็น Trichome

รูปที่ 4 ชั้นคิวติเคิล (Cuticle)

ภาพที่ 5 เอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนมาเป็นเซลล์คุม

เนื้อเยื่อพาเรงคิมา ( Parenchyma)เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เกิดจาก เซลล์พาเรงคิมาหลายเซลล์มาอยู่รวมกัน
ลักษณะ 1. เป็นเซลล์รูปร่างทรงกระบอกหลายเหลี่ยมค่อนค้างกลม หรือ รี เป็นผลให้เมื่ออยู่รวมกันจะเกิดช่องว่าง ช่องว่างที่เกิดจากการเรียงตัวกันของเซลล์พาเรงคิมาเรียก แอเรงคิมา Aerenchyma หรือ intercellular space
2. เซลล์โตเต็มที่เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิต
ภาพที่ 6 ช่องว่างที่เกิดจากการเรียงตัวของเซลล์พาเรงคิมา
บริเวณที่พบ : พบอยู่ทั่วไปในพืช จัดเป็นเนื้อเยื่อพื้น (Ground tissue)
หน้าที่ : ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำและอาหาร
     - พาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์อยู่ในเซลล์ เรียก คลอเรงคิมา (Chlorenchyma) ซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้
     - ส่วนพาเรงคิมาที่ทำหน้าที่สะสมอาหารและน้ำ เช่นในรากลำต้น อาจมีเม็ดแป้ง โปรตีน หรือ ไขมันอยู่         เรียกพาเรงคิมาชนิดนี้ว่า รีเซิร์ฟว พาเรงคิมา (Reserved parenchyma)
     - พาเรงคิมาบางชนิดทำหน้าที่เป็นต่อมสร้างสารบางอย่าง เช่น สร้างน้ำมันที่มีกลิ่นหอมหรืออื่นๆ
     - บางส่วนช่วยในการหายใจ บางส่วนช่วยในการลำเลียงสาร
     - สามารถแปรสภาพเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้เมื่อถูกกระตุ้นเช่น        เมื่อเกิดบาดแผลจะทำการแบ่งเซลล์เพื่อสมานบาดแผล

ภาพที่ 7 ภาพตัดขวางของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวแสดงบริเวณของ เนื้อเยื่อพื้น (Ground tissue)

เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา (Collenchyma)
เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เกิดจากเซลล์เซลล์คอลเรงคิมาหลายเซลล์มายู่รวมกัน

ลักษณะ
1. เซลล์มีรูปร่างหลายเหลี่ยมค่อนข้างยาว
2. ผนังเซลล์หนาไม่สม่ำเสมอมักหนาตามมุมเซลล์ เพราะมี สารพวกเพคตินมาสะสม (Pectin)
3. เมื่อโตเต็มที่เซลล์ยังมีชีวิต

ภาพที่ 8 เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา (Collenchyma)
บริเวณที่พบ พบมีอยู่มากทั้งในส่วนอ่อนและส่วนแก่ของพืช ของพื้นที่บริเวณใต้ชั้นเอพิเอเดอร์มิสลงมา พบที่ก้านใบ เส้นกลางใบ และขอบนอกของลำต้นพวกไม้เนื้อ อ่อน ที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมหรือเป็นสันโค้งไปมา เช่น ลำต้นโหระพา กระเพรา หรืออาจกระจายไปสม่ำเสมอกันตามขอบในของลำต้นที่กลมเกลี้ยงของลำต้นผักขม
หน้าที่ ช่วยทำให้ส่วนต่างๆของพืชเหนียวและแข็งแรงทรงตัวอยู่ได้ และยังช่วยป้องกันแรงเสียดทานอีกด้วย

ภาพที่ 9 ภาพเปรียบเทียบระหว่างเนื้อเยื่อพาเรงคิมา กับ เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา

เนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมา (Sclerenchyma)
เป็นเซลล์ที่ให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่างๆของพืช มักจะกระจายอยู่เป็นกลุ่มๆ ผนังเซลล์หนาและแข็งแรง เพราะมีสารพวกลิกนิน (lignin)ความหนาของ เซลล์สเกลอเรงคิมา ต่างกับ คอลเรงคิมา ที่ความหนาจะสม่ำเสมอกันตลอด ที่เซลล์มีรูเล็กๆ เรียกพิท (pit canal) เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วเซลล์จะตาย บริเวณกลางเวลล์ที่เคยมี ไซโทพลาซึมอยู่ จะกลายเป็นที่ว่างเพราะไซโทรพลาซึมแห้งไปเรียกบริเวณกลางเซลล์ว่า ลูเมน (Lumen) สเกลอเรงคิมาแบ่งออกเป็น 2 พวก ตามรูปร่าง คือ

1. ไฟเบอร์ (fiber) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างหลายเหลี่ยมและยาว อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม พบในพืชที่ให้เส้นใยต่างๆ เช่น ป่าน ปอ สับปะรด เป็นต้น นอกนั้นยังพบในกลุ่มของท่อน้ำ ท่ออาหาร
ภาพที่ 10 ภาพไฟเบอร์

2.  สเกลอรีด (Sclereid) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างสั้นกว่าไฟเบอร์ พบกระจายอยู่ในชั้นเปลือกของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ เปลือกผลไม้ที่แข็ง เช่น กะลามะพร้าว เป็นต้น สเกอรีดมีรูปร่างไม่แน่นอน ผนังเซลล์หนา มีลูเมนและพิทเหมือนกับไฟเบอร์ แต่พิทแตกแขนงมากกว่า

ภาพที่ 11 ภาพสเกลอรีด
ภาพที่ 12 ภาพเปรียบเทียบเนื้อเยื่อพาเรงคิมา เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา เนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมา 

เนื้อเยื่อคอร์ก (CorK)
เป็นเซลล์ที่พบด้านนอกสุดของลำต้น กิ่งหรือราก ที่มีการเจริญเติบโตในขั้นที่ 2
(Secondary growth) ซึ่งเป็นพืชที่มีอายุมากแล้วเปลือกนอกมีสีน้ำตาล มีเวลล์ซ้อนกันหลายชั้น บางชนิดซ้อนกันหนามากจนนำมาทำเป็นจุกคอร์กได้ มีการสร้างสารซูเบอรินซึ่งเป็นสารที่มีสีน้ำตาล มาเคลือบที่ผนัง ทำหน้าที่ป้องกันการระเหยน้ำและเซลล์จะตายเมื่อโตเต็มที่

ภาพที่ 13 ซ้าย เนื้อเยื่อคอร์กที่นำมาทำเป็นจุกคอร์ก
       ขวา  เนื้อเยื่อคอร์กบริเวณเปลือกไม้

เนื้อเยื่อเอนโดเดอร์มิส (Endodermis)
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกของเนื้อเยื่อลำเลียงของราก เซลล์มีรูปร่างคล้ายเซลล์พาเรงคิมา ที่ผนังเซลล์มีสารลิกนิน และ ซูเบอริน มาพอกหนาทั้งทางด้านรัศมีและด้านขวาง มีลักษณะเป็นแถบ เรียกว่า
แถบแคสพาเรียนสตริพ (Casparianstrip) เซลล์เรียงตัวกันแน่นไม่มีช่องว่าง
ภาพที่ 14 แสดงเนื้อเยื่อเอนโดเดอร์มิส


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น