24 ม.ค. 2556

เนื้อเยื่อพื้น

เนื้อเยื่อพื้น

           เนื้อเยื่อพื้น (Ground tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่เป็นองค์ประกอบ ในราก ลำต้น
 ใบ ดอก เป็นตัวกลาง ให้เนื้อเยื่ออื่นเจริญแทรกตัวอยู่      มีหลายประเภท  ได้แก่
1) พาเรงคิมา (Parenchyma) เนื้อเยื่อชนิดนี้พบได้ทั่ว ๆ ไปในพืช


ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างหลายแบบได้แก่ ค่อนข้างกลม รี หรือรูปทรงกระบอก
เมื่อเรียงตัวติดกัน จึงเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ (Intercellular space) มีแวคิวโอล
ขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ เซลล์พาเรงคิมาบางชนิดมีคลอโรพลาสต์อยู่ด้วย อาจเรียกว่า
คลอเรงคิมา (Chlorenchyma) (อย่าสับสนกับคอลเลงคิมา) ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส (Cellulose) เป็นส่วนใหญ่ อาจมี เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) และ เพกติน
(Pectin) บ้าง เนื้อเยื่อพาเรงคิมามีหน้าที่เก็บสะสมเม็ดแป้ง หยดน้ำมัน น้ำ เกลือแร่ และ
หลั่งสารพวกแทนนิน ฮอร์โมน เอนไซม์ และน้ำหวานของดอกไม้


ภาพที่ 1-8 แสดงพาเรงคิมา (Pearson Prentice Hall School, 2006)
ที่มา : http://www.phschool.com/science/biology_place/biocoach/
images/plants/Trachves.gif

2) คอลเลงคิมา (Collenchyma) เนื้อเยื่อที่มีเซลล์คอลเลงคิมาจะมี
รูปร่างคล้ายคลึงกับพาเรงคิมา ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส แต่ผนังเซลล์จะมี
ความหนาไม่เท่ากัน โดยส่วนที่หนามักจะอยู่ตามมุมเซลล์ ซึ่งมีเพกตินมากนอกเหนือไป
จากเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส พบเนื้อเยื่อชนิดนี้อยู่ตามก้านใบ เส้นกลางใบและ
ในส่วน คอร์เทกซ์ (Cortex) (คอร์เท็กซ์เป็นชั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่ถัดจากชั้นเอพิเดอร์มิส
เข้าไปทั้งในลำต้น และรากซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในเรื่องของรากและลำต้น)
ของพืชล้มลุก มีหน้าที่ทำความแข็งแรงให้กับพืช


ภาพที่ 1-9 แสดงคอลเลงคิมา (Simmons, K., 2004)

3) สเกลอเรงคิมา (Sclerenchyma) เนื้อเยื่อชนิดนี้ประกอบด้วยเซลล์ที่
มีผนังหนามากมีผนังเซลล์ทั้งปฐมภูมิ (Primarycell wall) และ ผนังเซลล์ทุติยภูมิ
(Secondary cell wall) เพราะมีสารลิกนิน (Lignin) เคลือบผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary
cell wall) จึงเป็นส่วนที่ทำให้พืชมีความแข็งแรง สเกลอเรงคิมาประกอบด้วยเซลล์ 2
ชนิดคือ ไฟเบอร์ (Fiber) และ สเกลอรีด (Sclerid) ซึ่งแตกต่างกันที่รูปร่างของเซลล์
ไฟเบอร์เป็นเซลล์เรียวและยาว ส่วนสเกลอรีด เซลล์มีลักษณะสั้นกว่าและ
มีรูปร่างแตกต่างกัน พบได้ตามส่วนที่แข็งแรงของเปลือกไม้และเปลือกหุ้มเมล็ดหรือ
เนื้อผลไม้ที่สาก ๆ

ภาพที่ 1-10 แสดงสเกลอเรงคิมา (Arizona State University, 2006)

4) เอนโดเดอร์มิส (Endodermis) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกของ
เนื้อเยื่อลำเลียงของราก เป็นเนื้อเยื่อที่มีเซลล์คล้ายพาเรงคิงมา แต่ที่ผนังเซลล์มีสาร
ลิกนินและซูเบอร์ลิน (Suberin) (ซึ่งเป็นสารพวกขี้ผึ้ง) มาพอกหนาเซลล์เรียงตัวกันแน่น
จนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์



ภาพที่ 1-11 แสดงเอนโดเดอร์มิส (Farabee, M., No Date)

      แหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น